วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์ (Vision)
โรงเรียนหนองแค “สรกิจพิทยา” เป็นสถานศึกษาที่มีการบริหารและจัดการศึกษาเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ สู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานความเป็นไทย ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่คุณธรรม ก้าวนำเทคโนโลยี

พันธกิจ (Mission)
๑. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ สู่มาตรฐานสากล
๒. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับศักยภาพของ
นักเรียนเทียบเคียงมาตรฐานสากล
๓. ส่งเสริมและพัฒนาด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารและ
กระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิผล
๔. ปลูกฝังนักเรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะความเป็นพลโลก มีทักษะชีวิตของ
คนในศตวรรษที่ 21 มีจิตสาธารณะ มีค่านิยมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ บนพื้นฐาน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๕. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพและความ
เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เป็นครูมืออาชีพ
๖. พัฒนาการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีระบบตามหลักธรรมาภิบาลและกระบวนการ
บริหาร OBECQA ยึดหลักการมีส่วนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
๗. พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมี
คุณภาพ

กลยุทธ์ (Strategy)
๑. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานสากล
๒. พัฒนาและส่งเสริมนักเรียนให้มีคุณลักษณะความเป็นพลโลก มีทักษะชีวิตของคนในศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่เหมาะสมโดยบูรณาการเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิต
๓. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบครูมืออาชีพและมีมาตรฐานเทียบเคียงมาตรฐานสากล
๔. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลและกระบวนการบริหาร OBECQA และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
๕. พัฒนาสื่อ เทคโนโลยี และแหล่งการเรียนรู้ให้หลากหลาย พอเพียง และมีคุณภาพต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้และส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนอย่างรอบด้าน
๖. พัฒนาสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัย นักเรียนมีความสุข

เป้าประสงค์ ( Goals)
๑. นักเรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสารสองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่าง
สร้างสรรค์ และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก
๒. นักเรียนเป็นคนดี มีทักษะชีวิตของคนในศตวรรษที่ 21 มีค่านิยมที่ดีงาม มีภาวะความเป็น
ผู้นำ ดำรงตนบนพื้นฐานวิถีไทย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างมีความสุข
๓. นักเรียนมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร แสวงหาและ
สร้างองค์ความรู้เต็มตามศักยภาพ
๔. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถเป็นครูมืออาชีพ ทันสมัยและปฏิบัติ
ตนตามจรรยาบรรณครูอย่างเคร่งครัด
๕. โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการศึกษาด้วยระบบคุณภาพตามกรอบเกณฑ์คุณภาพโรงเรียน
มาตรฐานสากลและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา
๖. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
๗. โรงเรียนมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการปรับตัวและพัฒนาการ
ของนักเรียนการวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพ เอื้อต่อการพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน
๘. โรงเรียนหนองแค “สรกิจพิทยา” ก้าวสู่ความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล

แนวทางการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติงานในโรงเรียน
๑. การกำหนดจุดเน้น ในการปฏิบัติงาน ดังนี้
๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ ๓ ต่อปี
๑.๒ นักเรียนมีคุณลักษณะการเป็นพลโลก (World Citizen) คือ เป็นเลิศวิชาการ สื่อสารสอง
ภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และร่วมรับผิดชอบต่อสังคมโลก
๑.๓ นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะและทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ
ทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการแก้ปัญหา
๑.๔ นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ยึดมั่นการปกครองใน
ระบบประชาธิปไตย รักความเป็นไทย และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๑.๕ นักเรียนได้รับการพัฒนาเพิ่มศักยภาพในด้านวิชาการ เทคโนโลยี กีฬาและศิลปะ เพื่อพัฒนาสู่
ความเป็นเลิศในระดับชาติและนานาชาติ
๑.๖ หลักสูตรสถานศึกษาได้รับการพัฒนาและจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
จัดการวัดผลและประเมินผลที่มีคุณภาพ
๑.๗ ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อการ
จัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และมีขวัญกำลังใจในการทำงาน
๑.๘ การบริหารและการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบตามหลักธรรมาภิบาลและกระบวนการ
บริหาร OBECQA
๑.๙ มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่เข้มแข็งเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพ
ภายนอก
๑.๑๐ สร้างภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับความ
ต้องการของโรงเรียนและชุมชนกับทุกภาคส่วน

๒. แนวทางหรือแผนพัฒนาสถานศึกษา
๒.๑. ด้านบริหารวิชาการ
๒.๑.๑ พัฒนาผลการเรียน (GPA) ของนักเรียนต้องสูงขึ้น โดยยึดหลัก “ ยก ๔ หนี ๑, ๒ ,๓ ห้าม ๐”
๒.๑.๒ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษานักเรียน ทั้งในระดับชั้นเรียน ระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่
และระดับชาติ ให้สูงขึ้น
๒.๑.๓ ส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านอย่างจริงจัง
๒.๑.๔ พัฒนาความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา สถาบันทางอาชีพ สถานประกอบการ อย่างเป็น
รูปธรรม
๒.๑.๕ พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่ทันสมัยเหมาะสมกับยุคสมัยในศตวรรษที่ ๒๑ สอดรับ การ
จัดการศึกษาแบบ New Normal และยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
๒.๑.๖ เพิ่มสมรรถนะและศักยภาพในการแข่งขันแก่นักเรียนทั้งในระดับเขตพื้นที่ ระดับชาติ
และระดับนานาชาติ
๒.๑.๗ พัฒนางานวิชาการเชิงรุก เช่น การสอนเสริม คลินิกวิชาการ การสร้างแหล่งเรียนรู้และ
บรรยากาศทางวิชาการ เป็นต้น
๒.๑.๘ พัฒนาการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการสร้างนิสัยใฝ่เรียน ใฝ่รู้แก่นักเรียน
ให้มากยิ่งขึ้น
๒.๑.๙ จัดการศึกษาและการเรียนรู้โดยมุ่งให้ครอบคลุมถึงการจัดการศึกษาเพื่อคุณวุฒิและการเรียนรู้
ตลอดชีวิต ที่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรตที่ ๒๑
๒.๑.๑๐ เพิ่มกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อให้นักเรียนสามารถสื่อสารภาษาได้อย่าง
หลากหลาย
๒.๑.๑๑ เตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนทุกระดับชั้นในการแข่งขันทักษะทางวิชาการในทุกระดับ
และทุกกิจกรรม
๒.๑.๑๒ เพิ่มศักยภาพการจัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ในแนว STEM Education
๒.๑.๑๓ จัดการศึกษาเพื่อทักษะอาชีพและการมีงานทำ โดยพัฒนา ๓ ทักษะหลัก ได้แก่ โลกทัศน์
อาชีพ การเสริมทักษะใหม่ และการเพิ่มทักษะที่จำเป็น
๒.๑.๑๔ พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และสนับสนุนการจัดการเรียน
การสอนของครู เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพทางวิชาการ
๒.๑.๑๕ แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานทางวิชาการทั้งในประเทศละต่างประเทศ
๒.๑.๑๖ พัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อสร้างภาวะผู้นำ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่นักเรียนโดย
การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมชุมนุม ชมรมต่างๆ ที่หลากหลาย
๒.๑.๑๗ นำหลัก PLC มาปรับใช้ในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียน ใน
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อหาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ
๒.๑.๑๘ โรงเรียนมีการนำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) มาใช้อย่างเป็นระบบและนำผลการประเมิน
มาพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๒.๑.๑๙ พัฒนาเครื่องมือวัดผลและประเมินผลให้มีคุณภาพ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้
สูงขึ้น
๒.๑.๒๐ พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศทางวิชาการ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพ
นักเรียน
๒.๑.๒๑ ส่งเสริม สนับสนุน ให้นักเรียนเรียนรู้ทั้งวิชาการและวิชาชีพ ตามนโยบายการศึกษาเพื่อการมี
งานทำ

๒.๒ ด้านบริหารงบประมาณ
๒.๒.๑ พัฒนาระบบงานการเงิน และพัสดุ ให้มีความถูกต้อง ชัดเจน ให้บริการที่รวดเร็ว
๒.๒.๒ พัฒนาระบบงานการเงิน และพัสดุให้สอดคล้องกับกฏระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น กฏหมาย
อำนวยความสะดวก พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่ เป็นต้น
๒.๒.๓ ให้ความรู้แก่ครู และบุคลากรในโรงเรียนเพื่อการดำเนินงานที่ถูกต้อง เกิดประโยชน์สูงสุด
๒.๒.๔ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความรู้ พัฒนางานอย่างเป็นระบบและสามารถ
สนองตอบต่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๒.๕ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดำเนินการด้านงบประมาณ
๒.๒.๖ เน้นหลักความคุ้มค่า โปร่งใส ประหยัด และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่นักเรียน โรงเรียน และ
ราชการเป็นสำคัญ
๒.๒.๗ จัดทำแผนการใช้งบประมาณ การกำกับติดตามการใช้งบประมาณ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

๒.๓ ด้านการบริหารงานบุคคล
๒.๓.๑ พัฒนาครูให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ และจัดการเรียนการสอนแบบ Active
Learning และมีความหลากหลายสนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๓.๒ พัฒนาครูให้ใช้การวัดผลประเมินผลที่มีความหลากหลายและสามารถชี้ให้เห็นจุดเด่นจุดด้อยของ
นักเรียน อันจะเป็นข้อมูลในการนำมาปรับปรุงพัฒนานักเรียนให้เกิดคุณภาพเต็มตามศักยภาพ
๒.๓.๓ ส่งเสริมครูให้มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอและมีความเป็นมาตรฐานสากลของครูชั้นนำ
๒.๓.๔ พัฒนาครูให้มีทักษะความรู้ที่จำเป็นเพื่อทำหน้าที่วิชาการมืออาชีพ (Train The Trainer) ตาม
นโยบายการศึกษายกกำลังสองของกระทรวงศึกษาธิการ
๒.๓.๕ ส่งเสริมพัฒนาครูให้มีวินัยข้าราชการ มีจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง และ
ชื่อเสียงอันดีงามของอาชีพ และโรงเรียน
๒.๓.๖ ส่งเสริมพัฒนาครูทำวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอย่างน้อยปีการศึกษาละ ๑ ชิ้นงาน
๒.๓.๗ ให้ครูมีข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) โดยนำประเด็นท้าทายมาพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน

๒.๔ ด้านการบริหารงานทั่วไป
๒.๔.๑ พัฒนาพื้นที่ในโรงเรียนต้องมีลักษณะ GREEN & CLEAN & SAFE
๒.๔.๒ ดูแลอาคารสถานที่ให้มีความสะอาด แข็งแรง ปลอดภัย ให้สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการเรียน
การสอนและพัฒนานักเรียนอย่างเต็มศักยภาพ
๒.๔.๓ เพิ่มแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้มากขึ้น และสามารถตอบสนองความแตกต่างของนักเรียน
๒.๔.๔ เพิ่มการมีส่วนร่วมของครู บุคลากรและนักเรียนในการรักษาสิ่งแวดล้อม ทรัพย์สิน ทรัพยากร
ของโรงเรียน
๒.๔.๕ นำนโยบาย พ่อหลวงคิด ลูกๆ ทำ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อประโยชน์กับตนเองและสังคม
๒.๔.๖ จัดวางระบบความปลอดภัยของอาคารสถานที่ และแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานความ
ปลอดภัยแห่งชาติในการดูแลนักเรียน การใช้อาคารสถานที่ต่างๆ
๒.๔.๗ นำนโยบาย น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก มาใช้ขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม
๒.๔.๘ ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคน ทุกห้องเรียน จัดทำโครงงานคุณธรรม เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม

๒.๕ แนวทางการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน
๒.๕.๑ จัดทำคู่มือการดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
๒.๕.๒ นำนโยบายเรื่องธนาคารขยะ การคัดแยกขยะมาใช้ให้เกิดเป็นรูปธรรม
๒.๕.๓ สร้างความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ทุกคน
ตระหนักและเห็นความสำคัญของการนำมาใช้
๒.๕.๔ สร้างเครือข่ายด้านความพอเพียง กับโรงเรียน และหน่วยงาน ต่างๆ โดยจัดทำโครงการเพื่อ
การพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน
๒.๕.๕ เพิ่มการมีส่วนร่วมของครู บุคลากรและนักเรียนในดำเนินการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
๒.๕.๖ นำแนวทาง นโยบายที่พ่อหลวงคิด ลูกๆทำ ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน